Social :



@กู่สันตรัตน์ มหาสารคาม

31 ธ.ค. 60 07:12
@กู่สันตรัตน์ มหาสารคาม

@กู่สันตรัตน์ มหาสารคาม

กู่สันตรัตน์

     เป็นปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมสมัยบายน อายุระหว่าง พ.ศ. 1700-1750 ตัวปราสาทสร้างด้วยศิลาแลงเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเหมือนกู่มหาธาตุ และมีทับหลังประตูมุขหน้าจำหลักลายงดงามน่าดู กู่สันตรัตน์มีลักษณะเป็นปราสาทแบบย่อมๆ ตั้งอยู่บนฐานชั้นเดียวหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีกำแพงล้อมลอบในกรอบ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

     สถานที่ตั้ง  ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาดูน ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 4 กิโลเมตร สร้างด้วยศิลาแลงเป็นศิลปะขอมแบบ บายน เป็นสถานที่ ที่เรียกว่าอโรคยาศาล หรือโรงพยาบาล มีรูปลักษณะปราสาทหินที่มีปรางค์ประธานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัตมีมุขด้านหน้ายื่นไปทางทิศตะวันออก มีบรรณาลัยซึ่งเป็นที่เก็บคัมภีร์ทางศาสนาตั้งอยู่ทางทิศตะวันนออกเฉียงใต้หันหน้าเข้าหาปรางค์ประธาน อาคารทั้ง 2 ล้อมด้วยกำแพงศิลาแลงซึ่งสร้างยังไม่เสร็จเรียบร้อยอีกชั้นหนึ่ง กู่สันตรัตน์สร้างขึ้นมาด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อประดิษฐานรูปเคารพสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และเป็นโรคยาศาล คือเป็นที่พักรักษาพยาบาลคนเจ็บป่วยอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเคยเสด็จทอดพระเนตร และทรงเยี่ยมราษฎรที่กู่สันตรัตน์แห่งนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2514

 เส้นทางการเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางหมายเลข 2045 (เข้าอำเภอนาดูน) ประมาณ 1 กิโลเมตร จะอยู่ทางขวามือ

     ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ททท. ขอนแก่น โทร. 0 4322 7714-5
http://www.tourismthailand.org/khonkaen


กู่สันตรัตน์

     จากตัวเมืองมหาสารคาม เดินทางไปพระธาตุนาดูนในงานนมัสการพระธาตุประจำปี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2040 มุ่งหน้าอำเภอวาปีปทุม จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 2045 ทางสายหลักไปอำเภอนาดูน ก่อนหน้าที่จะถึงพระธาตุนาดูน จะมีป้ายบอกทางแยกเข้ากู่สันตรัตน์

     ลักษณะของกู่สันตรัตน์ เป็นปราสาทองค์เดียวเดี่ยวๆ ล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นเดียว แตกต่างจากปราสาทหินอื่นๆ ที่มักจะสร้างระเบียงเดินได้รอบปราสาท เราสามารถจอดรถใกล้ๆ กับกู่หรือปราสาทหินได้เลยทีเดียว

      ทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นด้านหน้าปราสาทมีซุมประตูทางเข้าหรือโคปุระ ก่อด้วยศิลาแลง ส่วนประตูทางเข้านั้น ปรากฏให้เห็นว่ามีแผ่นทับหลังอยู่เหนือประตู กับมีเสาประดับที่กรอบประตูทั้งสองด้าน แผ่นทับหลังและเสาประดับกรอบประตูทำด้วยหินทรายแต่ไม่มีการสลักลายใดๆ ทั้งสิ้น จึงดูคล้ายกับว่าทำยังไม่เสร็จ

     

MulticollaC
โดยทั่วไปแผ่นทับหลังต้องมีการสลักลายหรือภาพประกอบไว้เสมอ แม้เสาประดับกรอบประตูทั้ง 2 ด้าน ก็มักสลักลายประดับเช่นกัน แต่เสาที่อยู่ติดกรอบประตูทางด้านซ้ายนั้นยังเป็นแท่งหินทรายเรียบๆ อยู่ไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสิ้นคงมีเฉพาะเสาประดับกรอบประตูทางด้านขวาของปราสาทเท่านั้น ที่ได้สลักลายไว้อย่างคร่าวๆ จากลักษณะดังกล่าวจึงเป็นหลักฐาน สันนิฐาน ได้ว่า ปราสาทองค์นี้ยังสร้างไม่เสร็จ แต่ช่างได้สร้างไปตามแบบที่เป็นลักษณะเฉพาะของขอม คือแม้องค์ปราสาทจะก่อด้วยหินทรายหรือศิลาแลง แต่ส่วนสำคัญทั้ง 3 คือ หน้าบัน ทับหลัง และเสาประดับกรอบประตูต้อง ทำด้วยหินทรายเสมอ ทั้งนี้เพราะหินทรายมีคุณสมบัติเหมาะกับการแกะสลัก ในสถาปัตยกรรมหินทรายโดยเฉพาะ

หลักศิลา

     หลักศิลา ส่วนหนึ่งที่อยู่ด้านนอกกำแพงก่อนที่จะเดินเข้าปราสาท ดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านมากราบไหว้บูชากัน มีการปักไม้ไผ่ล้อมรอบแบบง่ายๆ คล้ายๆ กับว่าไม่ให้เดินเข้าไปใกล้บริเวณนั้น

กู่สันตรัตน์

     ปราสาทก่อด้วยศิลาแลงมีขนาดความกว้าง 7 เมตร ยาว 8 เมตร แผนผังเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตตุรัสย่อมุมและมีมุขต่อยื่นออกมาด้านหน้า ทางด้านทิศตะวันออกที่ใช้เป็นช่องทางเข้าสู่ห้องครรภคฤหะ ห้องครรภคฤหะอยู่ตรงกลางของปราสาทประธานภายในห้องครรภฤหะพบแท่นรูปเคารพทรงสี่เหลี่ยม 3 ช่องเรียงกันซึ่งแท่นรูปเคารพลักษณะนี้ พบกันโดยทั่วไปในศาสนสถานประจำ อโรคยาศาล สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อาทิกู่บ้านเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามเป็นต้น เข้าใจว่าแต่เดิมคงใช้ประดิษฐานรูปเคารพ 3 องค์ บนแท่นฐานเดียวกันนี้เพื่อให้เป็นพระประธานดังกล่าว

     ปัจจุบัน ภายในกู่สันตรัตน์กลายมาเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสลักหิน เป็นที่สักการะบูชาของประชาชน

สระน้ำศักดิ์สิทธิ์

     สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นสระที่อยู่ใกล้ๆ กับกู่สันตรัตน์แต่อยู่ด้านนอกกำแพง สระน้ำแห่งนี้มีขนาดใหญ่พอสมควร แล้วก็สร้างตามแบบสระที่มักจะพบในบริเวณปราสาทหินแห่งอื่นๆ ด้วยเหมือนกัน รอบบริเวณกู่สันตรัตน์มีต้นไม้มากมายปกคลุม แต่ในฤดูแล้งก็จะเป็นแบบที่เห็นนี่ละครับ ต้นไม้จะแห้งกันหมด

     สระสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 12 เมตร ทางด้านหน้าปราสาททางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งน่าจะหมายถึงบาราย ซึ่ง เป็นไปตามคติของขอม(เขมร) ที่ว่าเมื่อมีการสร้างปราสาทหินก็มีการ ขุดสระหรือ บารายกักน้ำไว้ในที่ใกล้เคียงนั้นด้วย สระนี้กรุผนังด้วยศิลาแลงเรียงเหลื่อมคล้ายขั้นบันไดกอบลงสู่ก้นสระ

กู่สันตรัตน์

ขอบคุณข้อมูลจาก
touronthai.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ