Social :



@ปราสาทศีขรภูมิ สุรินทร์

04 ม.ค. 61 20:01
@ปราสาทศีขรภูมิ สุรินทร์

@ปราสาทศีขรภูมิ สุรินทร์

ปราสาทศีขรภูมิ

     สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ตำบลระแงง ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ 34 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 226 โดยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอไปอีก 1 กิโลเมตร ปราสาทศรีขรภูมิประกอบด้วยปรางค์อิฐ 5 องค์ องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน มีปรางค์บริวารล้อมรอบอยู่ที่มุมทั้งสี่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ปราสาทหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นและประตูทางเข้าเพียงด้านเดียวคือด้านทิศตะวันออกปรางค์ทั้งห้าองค์มีลักษณะเหมือนกัน คือ องค์ปรางค์ไม่มีมุข มีชิ้นส่วนประดับทำจากหินทรายสลักเป็นลวดลายต่างๆ ทั้งส่วนที่เป็นทับหลังและเสาประดับกรอบประตู เสาติดผนัง และกลีบขนุนปรางค์ ส่วนหน้าบันเป็นอิฐประดับลวดลายปูนปั้น องค์ปรางค์ประธานมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเนศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาล

 ส่วนปรางค์บริวารพบทับหลัง 2 ชิ้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย เป็นภาพกฤษณาวตาร ทั้งสองชิ้น ชิ้นหนึ่งเป็นภาพกฤษณะฆ่าช้างและคชสีห์ ส่วนอีกชิ้นหนึ่งเป็นภาพพระกฤษณะฆ่าคชสีห์จากลวดลายที่เสาและทับหลังขององค์ปรางค์ มีลักษณะปนกันระหว่างรูปแบบศิลปะขอมแบบบาปวน (พ.ศ. 1550-1650) และแบบนครวัด (พ.ศ. 1650-1700) จึงอาจกล่าวได้วา ปราสาทแห่งนี้คงสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 หรือต้นสมัยนครวัด โดยสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย และคงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในพุทธศาสนาตามที่มีหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย

วันเวลา   เวลาเปิด-ปิด : ปราสาทศีขรภูมิเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-16.30 น.
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 50 บาท

     ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ททท.สำนักงานสุรินทร์ (สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ) 0 4451 8152
http://www.tourismthailand.org/surin

ชิ้นส่วนปราสาทศีขรภูมิ

     ชิ้นส่วนปราสาทศีขรภูมิ ชิ้นส่วนเหล่านี้เป็นชิ้นส่วนที่อยู่บนปราสาทมาก่อน หลังจากนั้นเกิดการชำรุดหักพังหล่นลงมาจากปราสาท จึงได้มีการนำมารวบรวมตั้งไว้บริเวณด้านหน้าของทางเข้าใต้ต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ด้านขวามือ จากนั้นจึงได้สังเกตุเห็นบริเวณรอบปราสาทแห่งนี้มีต้นโพธิ์อยู่ 3 ต้น อยู่ที่มุม 3 มุมรอบบริเวณองค์ปราสาท ขาดเพียงมุมด้านหลังขวามือที่ไม่มีต้นโพธิ์ ต้นโพธิ์ต้นหนึ่งด้านซ้ายมือด้านหน้าทางเข้ามีข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทแห่งนี้ให้อ่าน

ปราสาทศีขรภูมิ

     ปราสาทศีขรภูมิ เป็นภาพด้านหน้าของปราสาท ในขณะที่เดินทางไปถึงปราสาทแห่งนี้ตามแผนการเดินทางของทริปแห่เทียนอุบลราชธานี เราเลือกปราสาทศีขรภูมิเป็นจุดแวะบนทางผ่าน เพียงแต่เราเข้าไปถึงเวลา 16.27 น. ซึ่งปราสาทแห่งนี้เปิดให้เข้าชมได้ถึงเวลา 16.30 น. ค่อนข้างเฉียดฉิวทีเดียว แต่เวลาช่วงนี้มีนักท่องเที่ยวน้อยสะดวกในการเก็บภาพเป็นอย่างยิ่งปราสาทที่ยิ่งใหญ่เบื้องหน้าที่เราเห็น ยังคงมีความสมบูรณ์อยู่มาก

MulticollaC
ปรางค์องค์กลางเป็นประธาน มี 4 องค์อยู่ที่มุมทั้งสี่ ซึ่งส่วนใหญ่ชำรุดลงไปมากแล้ว บางส่วนที่เห็นบนปราสาทเป็นการบูรณะของกรมศิลปากร

ปรางค์ทั้ง 5 องค์สร้างบนฐานเดียวกัน กว้าง 25 เมตร ยาว 26 เมตร สูง 1.5 เมตร

บริเวณรอบปราสาทศีขรภูมิ

     บริเวณรอบปราสาทศีขรภูมิ นับว่าปราสาทแห่งนี้มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างขวาง รอบองค์ปราสาทเป็นสนามหญ้ากว้างใหญ่มากทีเดียว

ทับหลังปราสาทศีขรภูมิ

     ทับหลังปราสาทศีขรภูมิ องค์ปรางค์ประธานมีทับหลังสลักเป็นรูปศิวนาฏราช (พระอิศวรกำลังฟ้อนรำ) บนแท่น มีหงส์แบก 3 ตัวอยู่เหนือเศียรเกียรติมุข มีรูปพระคเนศ พระพรหม พระวิษณุ และนางปารพตี (นางอุมา) อยู่ด้านล่าง เสาประตูสลักเป็นลวดลายเทพธิดาลายก้ามปูและรูปทวารบาล

ภายในปรางค์ประธาน

     ภายในปรางค์ประธาน มีช่องประตูเล็กๆ เดินเข้าไปภายในได้ แต่ภายในนั้นค่อนข้างแคบและมืด มีพระพุทธรูปบูชาขนาดเล็กไว้ให้กราบไหว้บูชา

ฐานแท่นบูชาภายในปราสาท

      ฐานแท่นบูชาภายในปราสาท ความมืดด้านในองค์ปรางค์ประธานทำให้มองแทบไม่เห็นองค์พระพุทธรูปในนี้ แต่ประชาชนที่นี่ก็มากราบไหว้บูชาจุดธูปเทียนและปิดทอง

ปรางค์มุมหลังซ้าย

     ปรางค์มุมหลังซ้าย ถ้าหันหน้าเข้าหาปราสาทศีขรภูมิ จะมีปรางค์องค์เล็กที่มุมหลังซ้าย ที่ยังคงความสมบูรณ์มากที่สุด มีช่องประตูเข้าไปได้ จากหลักฐานเชื่อว่าปรางค์องค์นี้ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ได้มีการบูรณะส่วนยอดในราวพุทธศตวรรษที่ 22 สมัยศิลปล้านช้างดังมีจารึกอักษรธรรมปรากฏอยู่ ณ ปราสาทหลังนี้

ด้านหลังปราสาทศีขรภูมิ

ด้านหลังปราสาทศีขรภูมิ ชมรอบๆ ปราสาทมาจนถึงด้านหลัง

คูน้ำรอบปราสาทศีขรภูมิ

     คูน้ำรอบปราสาทศีขรภูมิ รอบๆ องค์ปราสาทที่มีพื้นที่กว้างขวางมากนี้ มีคูน้ำอยู่รอบๆ อีกชั้นหนึ่ง เว้นเฉพาะด้านหน้าด้านทิศตะวันออกของปราสาทที่ไม่มีคูน้ำ จนเกือบเหมือนรูปตัว C ถ้าหากมองจากด้านบน

คูน้ำนี้กว้าง 111 เมตร ยาว 125 เมตร

ภาพปิดท้าย

ขอบคุณข้อมูลจาก

touronthai.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ