Social :



@วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร สุราษฎร์ธานี

09 ก.พ. 61 16:02
@วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร สุราษฎร์ธานี

@วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร สุราษฎร์ธานี

     นับได้ว่าเป็น ปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นสถานที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพุทธสถานเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ยังคงรักษาความ เป็นเอกลักษณ์ของช่าง ศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยไว้ได้สมบูรณ์ วัดพระบรมธาตุไชยาจึงเป็นวัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวไชยาและสุราษฎร์ธานีมา นานนับแต่โบราณกาล ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญแก่วัดประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญ ของชาติและยกฐานะวัดเป็น พระอารามหลวง และเป็นหนึ่งในสามของ โบราณสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของภาคใต้ ได้แก่ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจดีย์พระมหาธาตุวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช  และพระพุทธไสยาสน์ใน ถ้ำคูหาภิมุข บริเวณวัดคูหาภิมุข จังหวัดยะลา  เจดีย์พระบรมธาตุไชยาเป็นสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัยองค์เดียว ที่ยังอยู่ในสภาพ ที่ดีที่สุด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13-14 ไม่ปรากฎประวัติการสร้างและผู้สร้าง เข้าใจว่าสร้างในขณะที่เมือง ไชยา สมัยศรีวิชัยกำลังเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เจดีย์พระบรมธาตุนี้เป็นสัญลักษณ์ในดวงตราประจำจังหวัด และเป็นสัญลักษณ์ในธง ประจำกอง และผ้าพันคอลูกเสือด้วย ซึ่งถือกันว่าถ้าใครไปเที่ยวจังหวัดสุราษฎร์ธานี หากไม่ได้ไปนมัสการพระบรมธาตุไชยาแล้ว ก็เหมือนกับยังไปไม่ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี

วัดพระบรมธาตุไชยา

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด

พระวิหารคด
     พระระเบียงหรือพระวิหารคด โดยรอบเจดีย์พระบรมธาตุไชยาทั้งหมดมีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 39 เมตร สูง 4 เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสกุลช่างไชยา ขนาดและปางต่างๆ รวมทั้งสิ้น 180 องค์ และมีพระเจดีย์ หอระฆัง รูปปั้นพระชยา ภิวัฒน์ ผู้เป็นประธานในการบูรณะปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยราชการที่ 5 หลังจากนั้นมีการบูรณะอีกเพียงเล็กน้อยบางสมัย พระระเบียงจึงได้ชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา

พระวิหารหลวง
      พระวิหารหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกขององค์เจดีย์พระบรมธาตุไชยา สร้างยื่นล้ำเข้าไปในพระวิหารคด ในพระวิหารหลวงมี พระพุทธใหญ่น้อยหลายองค์ การบูรณะพระวิหารหลวงนั้น ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยท่านเจ้าคุณพระชยาภิวัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2444 โดยได้เปลี่ยนเครื่องไม้ต่างๆ ใหม่หมด หลังคา 2 ชั้น มีช่อฟ้า นาคสะดุ้ง มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ที่หน้าบันสลักลายดอกไม้เทศ พื้นประดับด้วยกระจกสีตามลวดลายปิดทองคำเปลว ฝาผนังใช้โบกปูนใหม่ทั้งหมด ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2502 พระราชชัยกวี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุไชยาเป็นประธานในการบูรณะพระวิหารหลวง โดยรื้อพระวิหารหลังเก่าที่ชำรุดออกคงไว้แต่ พระพุทธรูป และฝาผนังด้านหลังพระพุทธรูป ส่วนหน้าบันของเดิมนั้นได้นำไปแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา ศาลานีลวัฒนานนท์ พระวิหารหลวงที่สร้างขึ้นใหม่นี้ ได้เสริมฝาผนังให้สูงขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อยท้ายพระวิหารหลวงด้านตะวันตก เดิมเป็นห้องลับแลได้ตัด ออก เพื่อเป็นที่นมัสการพระบรมธาตุ แต่เนื่องจากเวลาฝนตกฝนจะสาด ทางวัดจึงปล่อยไว้เป็นห้องโถง เมื่อครั้งพระครูโสภณเจตสิการาม ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ของวัดขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2478 ก็ได้ใช้พระวิหารหลวงนี้เป็นสถานที่แสดงโบราณวัตถุต่างๆ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญ กุศลและประชุมคณะสงฆ์ ต่อมา พ.ศ. 2541 ได้บูรณะอีกครั้งหนึ่ง

พระอุโบสถ
      พระอุโบสถตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์เจดีย์พระบรมธาตุ นอกกำแพงพระวิหารคดเริ่มสร้างประมาณ พ.ศ. 1335 เขตพัทธสีมากว้าง 13.15 เมตร ยาว 18.80 เมตร แต่เดิมนั้นมีใบพัทธสีมาเพียงใบเดียว เรียงรายรอบพระอุโบสถจนถึงสมัย พระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แบบลังกาได้แผ่เข้ามาในประเทศไทยประมาณ พ.ศ. 1800 พระสงฆ์ลังกาได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาซ้ำลงในที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ พระพุทธศาสนาบริสุทธิ์มีความมั่นคง และสมบูรณ์ยิ่งขึ้นวัดที่ได้ผูกพัทธสีมาซ้ำแล้ว จึงให้ปักใบพัทธสีมาเพิ่มขึ้นเป็นคู่แฝดโดยมาก มัก จะเป็นอารามหลวง ด้วยเหตุนี้ วัดพระบรมธาตุไชยาจึงมีใบพัทธสีมา 2 ใบ ดังปรากฎเห็นอยู่ในปัจจุบัน หลังจากท่านเจ้าคุณ พระชยาภิวัฒน์ ได้ทำการบูรณะปฎิสังขรณ์พระบรมธาตุและพระวิหารคดแล้ว ทางวัดได้ทำการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวัดพระบรมธาตุไชยา ได้ยกฐานขึ้นเป็นพระอารามหลวงแล้ว ได้รับงบประมาณ เมื่อ พ.ศ. 2498 ทางวัดได้สร้างพระอุโบสถ ขึ้นใหม่ตรงที่เดิม แต่ขยายส่วนออกไปอีกยาวกว่าเดิมเล็กน้อยภายในพระอุโบสถมีพระประธาน เป็นพระรูปศิลาทรายแดงปางมารวิชัย สมัยอยุธยา เบื้องหน้าพระประธานมีใบพัทธสีมาคู่ ซึ่งเป็นของเดิมแต่ครั้งพระอุโบสถหลังเก่า

พระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์

Lif
      พระพุทธรูปศิลาทรายแดง 3 องค์ ประดิษฐานอยู่กลางกลางแจ้งบนลานภายในกำแพงแก้ว ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพระพุทธรูป ที่สร้างในสมัยอยุธยา โดยฝีมือสกุลช่างไชยา อาสน์เป็นของทำใหม่โดยยกให้สูงขึ้น

รูปปั้นพระชยาภิวัฒน์ ( หนู ติสฺโส )
      พระชยาภิวัฒน์ ( หนู ติสฺโส ) มีพระราชทินนามเต็มว่า พระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ ชาวบ้านบางมะเดื่อ ตำบลบางมะเดื่อ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยแสดงตลกหลวงหน้าพระที่นั่งในสมัยพุทธเจ้าหลวง ได้อุปสมบทตั้งแต่อายุ 20 ปีบริบูรณ์

วิหารหลวงพ่อโต
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระใหญ่หรือหลวงพ่อโตสมัยอยุธยา

ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยาที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พบในตัวอำเภอไชยา โดยเปิดให้เข้าชมในวันพุธ – อาทิตย์ เวลา 9.00 – 16.00 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม 20 บาท

โดยรถส่วนตัว
เดินทางจากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีบนทางหลวงหมายเลข 41 ที่มุ่งหน้าไปอำเภอชุมพร ประมาณ 50 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวขวาบริเวณก.ม. 134 ผ่านสวนโมกข์ และเลี้ยวขวาอีกครั้งตรงสี่แยกโมถ่ายหรือตามถนนทางหลวงหมายเลข 4011 ตรงไปราวประมาณ 2 กิโลเมตรจะเห็นวัดพระบรมธาตุไชยาอยู่ทางขวามือ

วัดพระบรมธาตุไชยา

วัดพระบรมธาตุไชยา

วัดพระบรมธาตุไชยา

วัดพระบรมธาตุไชยา

วัดพระบรมธาตุไชยา
พระพุทธรูปรอบระเบียงคด

วัดพระบรมธาตุไชยา

วัดพระบรมธาตุไชยา

วิหารหลวงพ่อโต

วัดพระบรมธาตุไชยา

วัดพระบรมธาตุไชยา

วัดพระบรมธาตุไชยา

ขอบคุณข้อมูลจาก
paiduaykan.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ