Social :



@ตึกเก่าสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ภูเก็ต

12 ก.พ. 61 19:02
@ตึกเก่าสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ภูเก็ต

@ตึกเก่าสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ภูเก็ต



     เมืองภูเก็ตนับได้ว่าเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์และความรุ่งเรืองอันยาวนานอีกเมืองหนึ่งของไทยโดยหนึ่งในรอยอดีต อันรุ่งเรืองของภูเก็ต ตึกเก่าแบบชิโน-โปรตุกีสถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2446 เนื่องจากการทำเหมือง แร่ที่เติบโตทำให้ชาวจีน และชาวตะวันตก ต่างหลั่งไหลเข้ามาที่เมืองภูเก็ตเป็นจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่เขตเทศบาลเมือง ภูเก็ตสิ่งแรกที่ผู้ไปเยือนจะรู้สึกสะดุดตาก็คือตึกเก่า ที่ตั้งตระหง่านอยู่ในย่านการ ค้าเก่าเเก่ของเมือง เป็นอาคารสไตล์ ชิโนโปรตุกีส ที่ผสมผสานเอาความเป็นศิลปะตะวันตกและตะวันออก เข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน จนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของเมืองภูเก็ต ตึกเก่าเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วตัวเมืองภูเก็ต สามารถเดินชม ได้อย่างต่อ เนื่อง นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารอร่อยหลายเจ้าให้เที่ยวไปกินไปอย่างเพลิดเพลินและทางเทศบาล เมืองภูเก็ต ก็ได้เห็นถึง ความสำคัญของสถาปัตยกรรมเหล่านี้ โดยได้ทำการอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสนี้ ไว้และจัดให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือก ของการท่องเที่ยว จัดให้มีเส้นทางเดินชมเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ สัมผัสกับความสวยงามของบ้านเรือนเก่าแก่ ของภูเก็ต และสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส ที่สวยงาม พร้อมๆกับได้ สัมผัสวัฒนธรรมและวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของคนภูเก็ตและ ที่สำคัญ อาหารอร่อยเลื่องชื่อการเดิน ชมเมืองเก่า เสน่ห์แห่ง ชิโนโปรตุกีส เป็นเส้นทางประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษายิ่ง

ถนนถลางและซอยรมณีย์
     เป็นถนนสายประวิติศาสตร์อันเก่าแก่ ตรงช่วงนี้จะมีอาคารตึกแถวเก่าที่มีรูปแบบเดิมๆเกาะกลุ่มกันอยู่เป็นจำนวนมากรวมถึงร้านค้า ร้านอาหารต่าง เริ่มต้นจาก สี่แยกถ.ถลางตัดกับถ.ภูเก็ตไปจนสุดสี่แยกตัดกับ ถ.เยาวราช มีตึกแถวกว่า 151 คูหาโดยมีตึกแถว ตัวตึกมี รูปแบบการตกแต่ง ช่องหน้าต่างโค้งตามแบบสถาปัตยกรรมยุคนีโอคลาสสิค มีลวดลายที่ดงามเน้นธรรมชาติเถาไม้ ใบไม้ และรูปสัตว์ ตึกแถวบริเวณนี้มี ลักษณะ เด่นอยู่ที่ประตูด้านหน้า เป็นแบบบานเฟี้ยมไม้เก่าแก่ ช่วงเสาจะ กว้างเท่ากับตึก 2 คูหารวมกัน มีการนำ ศิลปะการเจาะช่อง หน้าต่างและ ลวดลายปูนปั้นแบบอาร์ตเดโคมาใช้ได้อย่าง กลมกลืน และสวยงาม ซึ่งในปัจจุบันบ้านเรือนและ อาคารหลายหลัง ก็ได้มี การทาสีใหม่ แต่ยังคงรูปแบบเดิมไว้ นอกจากนี้ยังมีซอยรมณีย์ ซอยเล็กๆระหว่างเส้นถนนถลาง มีมีอาคาร สีสันหลายสีทั้งชมพู เหลือง น้ำเงิน เป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

ซอยรมณีย์

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต
ร้านอาหารบนถนนถลาง

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

คาเฟ่ตรงปลายสุดของถนนถลางเชื่อมต่อถนนกระบี่

เมืองเก่าภูเก็ต

Lif
เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

ถนนพังงา ถนนภูเก็ต ถนนมนตรี
      เริ่มจากศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ เริ่มจากศูนย์รวมข่าวพรหมเทพ ซึ่งตั้งอยู่หัวมุมถ.พังงาตัดกับถ.ภูเก็ต เมื่อเดินลง มาตามทิศใต้ เลี้ยวขวาเข้าถ.รัษฎาไปจนถึงวงเวียนสุริยเดช และตรงไปตามถ.ระนอง ซึ่งช่วงนี้จะได้พบกับตึกที่น่าสนใจ อาทิ โรงแรมออน ออน ศูนย์รวมข่าวพรหมเทพซึ่งปัจจุบันทาสีใหม่เป็นสีเหลืองโดดเด่น ด้วยหอนาฬิกาสูง 4 ชั้น มีหลังคาคล้ายรูปหมวกตำรวจสมัยก่อน ช่องประตูหน้าต่างแบ่งเป็นช่องโค้งมีเสาอิงแบ่ง เป็นช่วงประดับลายปูนปั้นบนยอดซุ้มโค้งสวยงาม
ศูนย์รวมข่าวพรหมเทพทาาสีใหม่

เมืองเก่าภูเก็ต

โรงแรมออน ออน

เมืองเก่าภูเก็ต
ร้านอาหารบนถนนพังงา

เมืองเก่าภูเก็ต


ถนนเยาวราชตัดกับถนนดีบุก
ช่วงนี้เริ่มจากแยกถ.ดีบุกตัดกับถ.สตูล เดินตามถ.ดีบุกจนถึงสี่แยกตัดกับถ.เยาวราช พอเลี้ยวขวาเข้าถ.เยาวราช จะได้สัมผัสกับ บรรยากาศตึกเก่าและแวะลิ้มรสอาหารอร่อยในตรอกสุ่นอุทิศ แล้วย้อนกลับมาสี่แยกเลี้ยวเข้า ถ.ดีบุก อีกช่วงหนึ่งจะเข้าสู่ซอยรมณีย์ การเดินชมเมืองในช่วงนี้จะได้สัมผัสกับความหลากหลาย ของตึกชิโนโปรตุกีสที่หาดูได้ยาก อย่างที่บ้านหลวงอำนาจนรารักษ์ เป็นบ้านที่มีความงดงามโดดเด่นอยู่ที่ลายปูนปั้นตั้งแต่ หัวเสาแบบคอมโพสิต และช่วงคานเหนือเสา เป็นศิลปะแบบกรีก ยุคคลาสสิคผสาน กับปูนปั้นลายค้างคาว ลายหงส์ ลายเมฆ รวมทั้งลายใบไม้ และผลไม้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์มงคลของคนจีน
ภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 แยกเยาวราช ดีบุก


เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต
ร้านคาเฟ่แยกเยาวราช

เมืองเก่าภูเก็ต

เมืองเก่าภูเก็ต

บ้านเรือนบนถนนดีบุก

เมืองเก่าภูเก็ต

ถนนกระบี่ และถนนสตูล
      เริ่มจากถ.กระบี่บริเวณแยกถ.เยาวราช เดินไปทางตะวันตกจนถึงสามแยกตัดกับถ.สตูล เดินตรงไปถึงบ้าน คุณประชา ตัณฑวณิช ย้อนกลับมาจนถึงสามแยกตัดกับถ.ดีบุก เส้นทางสายนี้มีอาคารเก่าที่ชวนชมอย่างอาคาร พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เป็นตึก 2 ชั้น ชั้นล่างมีซุ้มโค้งเตี้ยขนาดใหญ่ 3 ซุ้ม มีเสากลมรับโค้ง หัวเสาประดับ ด้วยลายบัวแบบกึ่งไอโอนิค และคอรินเธียน ผนังอาคารเซาะร่อง ขนาดใหญ่ เรียกว่า Rustication ชั้นบนมี ซุ้ม หน้าต่าง 3 ซุ้ม มีช่องหน้าต่าง 2 ช่องกรอบหน้าต่างด้านบนเป็นจั่วโรมัน บานหน้าต่างไม้สี่เหลี่ยม มีลวดลาย เรขาคณิต เหนือซุ้มช่วงกลางมีหน้าจั่วปูนปั้นรูปค้างคาว

เมืองเก่าภูเก็ต

ถนนกระษัตรี
      ช่วงนี้เป็นช่วงต่อจากเส้นทางเดินที่ซ.รมณีย์ เลี้ยวซ้ายทะลุออกถ.ถลาง เมี่อถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายเดินตาม ถ.เทพกระษัตรี พอถึงแยกตัดกับ ถ.ดีบุก อาจแวะชมบ้านเก่าแล้วย้อนออกมาตามถ.เทพกระษัตรีอีกครั้งจนไปสิ้น สุดเส้นทางที่คฤหาสน์ตระกูลหงส์หยก หรือบ้านหลวง อนุภาษภูเก็ตการ ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างในสมัยร. 7 ด้านหน้า อาคารเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลมกลมขนาดใหญ่ที่รถยนต์เข้าไปจอดเทียบได้ ชั้นล่างเป็นซุ้มโค้งเตี้ย 3 โค้ง หัวเสา จะเป็นแบบดอริก ผนังเซาะเป็นร่องลึกคล้ายแนวหินก่อ ชั้นบนเป็นระเบียงมีลูกกรงปูนปั้นประดับ หลังคาทรง ปั้นหยา ด้านปีกซ้ายมีช่องแสงเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลมประดับด้วยบานเกล็ดไม้ ด้านปีกขวาตกแต่งช่องแสงด้วย กระจกสีต่างๆ กรุในกรอบสี่เหลี่ยมมีรูปวงกลมอยู่ข้างใน นับว่าเป็นคฤหาสน์หลังใหญ่ที่ งดงามทางด้าน สถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก
แผนที่เมืองเก่าภูเก็ต

ขอบคุณข้อมูลจาก
paiduaykan.com

โพสต์โดย : ต้นน้ำ