Social :



จับตาการเมือง สนช. ตั้ง “กมธ. ร่วม 3 ฝ่าย” แก้กฎหมายลูก ส.ส., ส.ว.

16 ก.พ. 61 06:00
จับตาการเมือง สนช. ตั้ง “กมธ. ร่วม 3 ฝ่าย” แก้กฎหมายลูก ส.ส., ส.ว.

จับตาการเมือง สนช. ตั้ง “กมธ. ร่วม 3 ฝ่าย” แก้กฎหมายลูก ส.ส., ส.ว.

จับตาการเมือง สนช. ตั้ง “กมธ. ร่วม 3 ฝ่าย”
 แก้กฎหมายลูก ส.ส., ส.ว.


วันที่ 15 ก.พ. 2561 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. มีมติเห็นชอบตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ พ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส. (หรือที่เรียกว่า กรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย พิจารณาร่างพ.ร.ป. เลือกตั้ง ส.ส.. )

และคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. (หรือที่เรียกว่า กรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย พิจารณาร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.)

ซึ่งกรรมาธิการร่วมจาก 3 ฝ่าย ของแต่ละร่างกฎหมายประกอบด้วย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.5 คน กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. 5 คน และคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. 1 คน รวมเป็น 11 คน

โดยคณะกรรมาธิการร่วม ทั้ง 2 ร่างมีเวลาพิจารณาปรับแก้ไขร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ตามข้อทักท้วงของ กกต.และ กรธ.ภายในกรอบเวลา 15 วัน ก่อนจะส่งให้ สนช.พิจารณาอีกครั้งภายในวันที่ 1 มี.ค.นี้

หาก สนช.มีมติไม่เห็นชอบเกิน 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มีอยู่ หรือ 167 เสียงขึ้นไป จะถือว่าร่างกฎหมายเป็นอันตกไป และต้องมีการยกร่างใหม่ทั้งหมด

สำหรับความเห็นแย้งในร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.นั้น กรธ.มีความเห็นแย้ง 4 ประเด็น ได้แก่
Lif

1.การเปิดให้มีการจัดแสดงมหรสพระหว่างการหาเสียง
2.การขยายเวลาลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจากเดิม 00–16.00 น. เป็น 07.00–17.00 น.
3.การให้ผู้อื่นกาบัตรลงคะแนนให้คนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ
4.การจำกัดสิทธิ์ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำหรับผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ขณะที่กกต. มีความเห็นแย้ง 5 ประเด็น คือ

1.การเปิดให้มีการจัดมหรสพระหว่างการหาเสียง
2.การแยกเบอร์ผู้สมัครในแต่ละเขตไม่ซ้ำเบอร์กัน
3.ค่าสมัครเลือกตั้งระหว่างพรรคใหญ่ และพรรคเล็กที่เท่ากัน
4.การมอบอำนาจให้ศาลฎีกาสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่
5.เรื่องอำนาจกกต. ที่ต้องส่งเรื่องให้ศาลฎีกาสั่งให้ตัดสิทธิ์การรับสมัครแต่ไม่ตัดสิทธิ์การเลือกตั้ง

ส่วนร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. นั้น กรธ. มีความเห็นแย้ง 3 ประเด็น คือ

1.การลดกลุ่มอาชีพจาก 20 กลุ่ม เป็น 10 กลุ่ม
2.การแบ่งประเภทผู้สมัครเป็น 2 ประเภท โดยวิธีสมัครและคัดเลือกโดยองค์กร
3.การให้ผู้สมัครเลือกกันเองในกลุ่ม แทนการเลือกไขว้ข้ามกลุ่ม

ขณะที่กกต.โต้แย้งประเด็นเดียว คือ เมื่อประกาศผลว่ามีหลักฐานอันควรเชื่อว่าการสมัครเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม กกต.อาจยื่นต่อศาลฎีกาเพิกถอนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งได้





ขอขอบคุณที่มา:news.sanook.com

โพสต์โดย : Wizz

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด