Social :



คสช.แถลง 9 เดือนที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนทุจริตเกือบ 600 เรื่อง

19 มี.ค. 61 06:00
คสช.แถลง 9 เดือนที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนทุจริตเกือบ 600 เรื่อง

คสช.แถลง 9 เดือนที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนทุจริตเกือบ 600 เรื่อง

คสช.แถลง 9 เดือนที่ผ่านมา
มีเรื่องร้องเรียนทุจริตเกือบ 600 เรื่อง


คสช. สรุปผลการทำงานตั้งแต่ 14 ก.ค. 60 – 12 มี.ค. 61 พบว่ามีประชาชนร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ จำนวน 3,664 เรื่อง แบ่งเป็น ความเดือดร้อนทั่วไป 1,758 เรื่อง, การทุจริตประพฤติมิชอบ 594 เรื่อง, ยาเสพติด 442 เรื่อง และเรื่องที่มีข้อมูลไม่ชัดเจน 856 เรื่อง

พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงว่า ตามที่ คสช.ได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเป็นช่องทางในการรับแจ้งข้อมูลข่าวสารและความเดือดร้อนของประชาชนที่เกี่ยวกับการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2560 จนถึงวันที่ 12 มีนาคม 2561 มีประชาชนร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ จำนวนทั้งสิ้น 3,664 เรื่อง

แยกเป็นเรื่องความเดือดร้อนทั่วไป 1,758 เรื่อง, การทุจริตประพฤติมิชอบ 594 เรื่อง, ยาเสพติด 442 เรื่อง และเรื่องที่มีข้อมูลไม่ชัดเจน 856 เรื่อง โดยประชาชนได้ใช้บริการแจ้งผ่านสายด่วน 1,083 เรื่อง, ตู้ ปณ. 1,919 เรื่อง, แจ้งด้วยตนเองในส่วนกลาง 244 เรื่อง และแจ้งผ่านศูนย์รับเรื่องในภูมิภาค/หน่วยทหารทั่วประเทศอีก 418 เรื่อง

ซึ่งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนฯ โดยคณะทำงานกลั่นกรองได้นำข้อมูลทุกเรื่องเข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองเป็นประจำทุกสัปดาห์ ควบคู่ไปกับการส่งต่อเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการต่อไป

Lif
สำหรับเรื่องร้องเรียนที่ได้รับมาจำนวน 3,664 เรื่องในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาได้ถูกดำเนินการคือ 1. ส่งเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายประพฤติมิชอบให้ศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติดำเนินการตามกรรมวิธี จำนวน 594 เรื่อง ในจำนวนนี้มีผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรียบร้อยแล้ว จำนวน 157 เรื่อง

มีการนำเรื่องเข้าสู่การดำเนินคดีตามกฎหมาย ตามความผิดในกรณีต่าง ๆ เช่น การละเลยให้มีการปล่อยน้ำเสียลงสู่ลำน้ำสาธารณะและปัญหามลพิษ, กรณีเอื้อประโยชน์ในการเสนอราคาสร้างถนน, กรณีรายงานข้อมูลเท็จในการเบิกเงินช่วยเกษตรกร, กรณีการจัดซื้อถุงยังชีพช่วยเหลือน้ำท่วมไม่ตรงตามความเป็นจริง, กรณีเรียกรับผลประโยชน์จากผู้ประกอบการไม้แปรรูป, กรณีการเบิกเงินค่าจ้างแรงงาน แต่กลับใช้เครื่องจักรทำแทน, กรณีทุจริตจัดซื้อจัดหารถยนต์และรถดับเพลิง, กรณีใช้ตำแหน่งฉ้อโกงเงิน, กรณีฮั้วประมูลการสร้างถนน, กรณีช่วยปกปิดการกระทำผิดในคดีต่าง ๆ เป็นต้น

พ.อ.หญิงศิริจันทร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการทำงานของศูนย์ฯ จะเป็นไปใน 3 ลักษณะ คือ

1) การรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนแล้วนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงานกลั่นกรองฯ

2) การส่งเรื่องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ตรวจสอบตามกระบวนการ และ

3) การส่งข้อมูลให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) กองกำลังชายแดน และกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ช่วยตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการให้มีความชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น






ขอขอบคุณที่มา:news.sanook.com

โพสต์โดย : Wizz

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด