Social :



นายกฯเชิญชวนชมโขนพระราชทาน-เตือนปชช.ระวังสภาพอากาศ

27 ต.ค. 61 06:10
นายกฯเชิญชวนชมโขนพระราชทาน-เตือนปชช.ระวังสภาพอากาศ

นายกฯเชิญชวนชมโขนพระราชทาน-เตือนปชช.ระวังสภาพอากาศ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย โดยเชิญชวนให้ประชาชนได้ร่วมชมการแสดงโขนที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดแสดงขึ้น ต่อเนื่องจากปีก่อนๆ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ ได้มีส่วนร่วม สืบสานวัฒนธรรมไทยให้อยู่สืบไป และในปีนี้ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ได้เลือกบทโขนรามเกียรติ์ ตอน “พิเภกสวามิภักดิ์” ซึ่งเป็นการสื่อความหมายของ ความจงรักภักดี และ การรักษาความเที่ยงธรรม สุจริต อีกทั้ง ยังมีการผสมผสาน สร้างสรรค์มาจากบทพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ฉบับต่าง ๆ อาทิ บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 6

อย่างไรก็ตาม การแสดงโขนนี้ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 พ.ย.- 5 ธ.ค.นี้ ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย





ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งเตือนประชาชนเรื่องลมฟ้าอากาศ โดยภาคใต้จะมีฝนตกชุก อาจมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ ส่วนภาคเหนืออากาศจะเริ่มเย็นลง และภาคอื่นๆ อาจประสบภัยแล้งในการทำการเกษตร อ่างเก็บน้ำมีปัญหาหลายแห่งด้วยกัน เนื่องจากฝนตกน้อย จึงขอให้ความติดตามพยากรณ์อากาศอย่างต่อเนื่อง

 

นายกฯเร่งแก้ปัญหาน้ำคาดกม.เสร็จปี 62


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลนี้ มุ่งมั่นที่จะน้อมนำหลักคิด “สืบสาน รักษา ต่อยอด” โดยกำหนดเป็นมาตรการ และนโยบายสาธารณะ สำหรับการแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งการแก้ปัญหาน้ำ โดยดำเนินการ 3 เสาหลัก ได้แก่ การตั้งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นองค์กรกลาง เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบในภาพรวม ตั้งแต่ป่าต้นน้ำ แหล่งเก็บกักน้ำ พื้นที่เพาะปลูก ไปจนถึงปากอ่าว, การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์น้ำ 12 ปี (พ.ศ.2558 – 2569) ซึ่งถือเป็นแผนแม่บทด้านทรัพยากรน้ำ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งที่ผ่านมามีผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงานที่สำคัญๆ ได้แก่ พัฒนาประปาหมู่บ้านเกือบ 7,300 หมู่บ้าน คงเหลือ 199 หมู่บ้าน คาดว่าจะแล้วเสร็จ ในปี 62 พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำได้ ราว 1,500 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทาน รวม 2.53 ล้านไร่ และ ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ รวม 0.48 ล้านไร่ เป็นต้น และการผ่านกฎหมายน้ำฉบับแรกของประเทศไทย ที่คาดว่า จะมีผลบังคับใช้ปลายปีนี้ เพื่อให้เกิดการบูรณาการในการใช้ พัฒนา บริหารจัดการ ฟื้นฟู และ อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ที่มีมาตรการป้องกัน และแก้ไข น้ำท่วม-น้ำแล้ง

ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้วางหลักเกณฑ์ในการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำสาธารณะ มีองค์กรในการบริหารจัดการน้ำ ระดับชาติ ระดับลุ่มน้ำ และระดับองค์กรผู้ใช้น้ำ ที่สะท้อนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในทุกระดับ เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำของชาติ

 

นายกฯย้ำแก้ปัญหาความยากจนแบบยั่งยืน

Lif
นายกรัฐมนตรี  ระบุในการแก้ปัญหายาเสพติด ได้ใช้นโยบายผู้เสพคือผู้ป่วย ที่จะต้องได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง โดยแพทย์ และพยาบาล ในสถานพยาบาล ของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ และหลังจากที่ผู้เสพได้รับการบำบัดรักษาแล้ว ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคม นอกจากนี้ ได้สนับสนุนให้หน่วยงานภายนอก ได้เข้ามามีบทบาท และมีส่วนร่วม ในการช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ให้มีงาน-มีอาชีพสุจริต ส่งเสริมให้ผู้กระทำผิดมีรายได้ ทั้งในขณะที่ต้องโทษ

ส่วนการแก้ปัญหาความยากจน โดยในระยะยั่งยืนด้วยการออม ได้แก่ การออมผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ซึ่งสนับสนุนให้คนไทย ตั้งแต่อายุ 15 – 60 ปี รวมถึงเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ มีเงินรายเดือน ไว้ใช้ หลังอายุ 60 ปี เพิ่มเติมจากเบี้ยคนชรา ที่จะได้รับอยู่แล้ว คือ แต่ละเดือนก็จะมีรายรับ เข้ามา 2 ทาง โดยสามารถออมเงินกับ กอช.ได้ ขั้นต่ำเดือนละ 50 บาท และ ปีละไม่เกิน 13,200 บาท แล้วรัฐบาลก็จะเติมเงินให้อีก 50-100% ตามช่วงอายุ

สำหรับผู้ที่ถือบัตรวัสดิการแห่งรัฐ สามารถไปตรวจสอบสิทธิ และสมัครได้ที่ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง หรือ สมัครผ่านแอพพลิเคชั่น “กอช” และการออมรูปแบบใหม่ คือ การปลูกไม้มีค่าในที่ดินของตน นอกจากจะเป็นการเก็บออมแล้ว ยังถือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และ สร้างอาชีพที่มั่นคง ด้วยการปลูกไม้มีค่า ในลักษณะเกษตรผสมผสาน

 

นายกฯยินดีไทยถูกจัดอันดับแข่งขันโลกดีขึ้น

นายกรัฐมนตรี เปิดเผยด้วยว่า ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก 4.0 ประจำปี 2018 ของ World Economic Forum (WEF) ที่ประเทศไทยมีอันดับคะแนนดีขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 38 จาก 140 ประเทศทั่วโลก จากเดิมอยู่ในอันดับที่ 40 สำหรับในอาเซียน ไทยอยู่อันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย ส่วนในกลุ่มอาเซียน+3 ไทยอยู่อันดับที่ 6 จาก 12 ประเทศ รองจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และจีน แสดงให้เห็นถึงสถานะทางการแข่งขันที่มั่นคงของไทยและถือเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ไม่ได้มีรายได้ต่อประชากร ในระดับที่สูง แต่ยังสามารถเข้ามาอยู่ใน 40 อันดับแรก

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีจุดแข็ง ด้านระบบการเงิน อยู่ในอันดับ 14 ของโลก เพราะมีความพร้อมด้านเงินทุน วงเงินสินเชื่อ ที่ให้กับเอกชน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ต่าง ๆ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ของ SMEs และสตาร์ทอัพ รวมถึง เสถียรภาพของธนาคารพาณิชย์ พร้อม ยังมีจุดแข็ง ด้านขนาดของตลาด

ทั้งนี้ จากการเข้าร่วมการประชุมกับต่างประเทศ ในช่วงที่ผ่านมาผู้นำหลายประเทศมีความเข้าใจ และสนับสนุนแนวทางการพัฒนาของไทย โดยเฉพาะการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ เพื่อจะสร้างความเจริญเติบโต อย่างยั่งยืน ให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว และ ประชาชนอยู่ดีกินดี ภายใน 20 ปีข้างหน้า ด้วยการมุ่งมั่นเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศ ในทุกมิติ



ขอบคุณข้อมูลจาก:innnews.

โพสต์โดย : monnyboy

ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด