Social :



เทคนิคการเพาะเห็ดขอนขาว ในโรงเรือน

01 ธ.ค. 61 12:12
เทคนิคการเพาะเห็ดขอนขาว ในโรงเรือน

เทคนิคการเพาะเห็ดขอนขาว ในโรงเรือน

เทคนิคการเพาะเห็ดขอนขาว  ในโรงเรือน

คุณวัฒนา  ฤทธิ์ภู   เกษตร กรบ้านม่วงสามสิบ  ต. ม่วงสามสิบ  อ. ม่วงสามสิบ  จ. อุบลราชธานี  ทำฟาร์มเห็ดมาเป็นเวลา  9  ปี  คลุกคลีกับเรื่องของเห็ดมาตั้งแต่เด็กเพราะบ้านบิดา-มารดาทำฟาร์มเห็ด  เมื่อแต่งงานได้ย้ายมาอยู่กับภรรยา  จึงย้ายมาทำฟาร์มเห็ดเอง เริ่มแรกทำไม่ประสบผลสำเร็จ  เนื่องจากไม่ได้ทำเชื้อเห็ดเอง  เห็ดออกน้อยขาดทุน เมื่อมีการลองผิดลองถูกมาเรื่อยๆ  จึงเริ่มเข้าที่เข้าทาง  จนเกิดความเชี่ยวชาญด้านการเพาะเห็ด โดยเฉพาะเห็ดบดและเห็ดขอนขาว  ซึ่งเป็นเห็ดที่ตลาดมีความต้องการ  ด้วยเป็นเห็ดที่เพาะยาก  จึงขายได้ราคาดี

ในการ เพาะเห็ด ขอนขาว  วัสดุเพาะที่เลือกใช้เป็นสิ่งสำคัญ  จากประสบการณ์ของคุณวัฒนา  บอกว่า  เคยลองนำขี้เลื่อยจากไม้มะม่วง  มะขาม  มาใช้เป็นวัสดุเพาะเลี้ยงเห็ดขอนขาว ปรากฏว่าเห็ดออกดอกน้อย  เส้นใยเจริญไม่ดี  แต่ถ้าเป็นขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา  พบว่า  เห็ดจะออกดอกดีสุด จึงเหมาะสมที่จะนำมาทำเป็นวัสดุเพาะเห็ดขอนขาว  โดยมีส่วนผสม  ดังนี้ 


สูตรอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงเห็ดขอนขาว 
1. ขี้เลื่อยไม้ยางพารา  100  กิโลกรัม 
2. น้ำตาลทราย  2-3  กิโลกรัม 
3. รำ  3-5  กิโลกรัม 
4. ปูนขาว  1  กิโลกรัม
5. น้ำ  65-75  ลิตร

วิธีการทำ 
ขั้นตอนที่  1  การผสมวัสดุเพาะ : 
1. ผสมขี้เลื่อยและวัสดุอื่นๆ  เข้าด้วยกัน เติมน้ำลงไปให้เป็นฝอย คลุกเคล้าให้เข้ากันดี ตรวจสอบให้มีความชื้นประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ โดยการบีบขี้เลื่อยผสมให้แน่นแล้วคลายมือออก ขี้เลื่อยผสมควรจับตัวกันอยู่ได้แต่ไม่ชื้นจนมีหยดน้ำไหลออกมาและไม่แห้งจนขี้เลื่อยผสมแตกร่วนเมื่อคลายมือ 
2. บรรจุขี้เลื่อยผสมในถุงพลาสติกทนร้อนประมาณ  900  กรัมต่อถุง  แล้วอัดให้แน่นพอประมาณ  รวบปากถุง  ใส่คอขวดพลาสติก  ดึงปากถุงพับลง  รัดด้วยยางวง  ทำช่องตรงกลางถุงอาหารเจาะด้วยไม้แหลม สวมฝาครอบสำเร็จรูปและฝาปิด ( ซึ่งรองด้วยกระดาษ )  หรือสำลีและปิดทับด้วยกระดาษหรือฝาปิดแบบประหยัด
3.นำถุงอาหารซึ่งเตรียมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไปเรียงในหม้อนึ่งหรือถังนึ่ง  ไม่อัดความดันแล้วนึ่งนาน  2-3  ชั่วโมง  นับจากน้ำเดือด  โดยสังเกตจากไอน้ำที่พุ่งตรงจากรูที่เจาะไว้ที่ฝา  แล้วทิ้งให้เย็น 


ขั้นตอนที่  2  การทำก้อน : 
1. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด  7X13  นิ้ว  หรือ  61/2 X12  นิ้ว
2. คอพลาสติกสำเร็จรูป  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  1  นิ้ว สูง  1  นิ้ว  พร้อมที่ครอบปิดและมีฝาปิด(ซึ่งรองด้วยกระดาษอีกชั้นหนึ่ง)  หรือสำลี  หรือฝาปิดแบบประหยัด
3. ยางรัด
4. ตะเกียงแอลกอฮอล์
5. หัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่าง
6. โรงเรือนสำหรับบ่มก้อนเชื้อ  พร้อมชั้นวาง
7. โรงเรือนเปิดดอก 
6. อุปกรณ์ให้น้ำ  เช่น  บัวรดน้ำ  สายยาง
7. พลั่ว  และหม้อนึ่งไม่อัดความดัน (หม้อนึ่งลูกทุ่ง)

ขั้นตอนที่  3   นำก้อนเชื้อเห็ดไปนึ่งฆ่าเชื้อ :  โดยนำก้อนไปนึ่ง  ที่อุณหภูมิ  100  องศาเซลเซียส  ใช้เวลาในการนึ่งประมาณ  3-4  ชั่วโมง  การจับเวลาในการนึ่ง  ควรจับหลังจากที่มีไอน้ำพุ่งขึ้นมาเป็นเส้นตรง  หลังจากนึ่งเสร็จแล้วปล่อยให้เย็น  แล้วนำออกจากหม้อนึ่ง  นำเข้าห้องเขี่ยเชื้อ 
Lif

ขั้นตอนที่  4  การเขี่ยหัวเชื้อ : 
หัวเชื้อเห็ดนั้นจะต้องมีการเขย่าขวดเป็นระยะ และก่อนจะนำมาใช้  1  คืน  ควรจะเขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายออก  ดึงจุกสำลีลนปากขวดหัวเชื้อที่เปลวไฟ  เทหัวเชื้อลงในถุงอาหารประมาณถุงละ  20-30  เมล็ด  ปิดที่ครอบคอขวดไว้ตามเดิม  การหยอดหัวเชื้อต้องทำในที่สะอาดและไม่มีลมพัดผ่านได้

ขั้นตอนที่  5  การบ่มเส้นใย : 
หลังเขี่ยเชื้อเห็ดเรียบร้อยแล้วให้ย้ายก้อนเชื้อเห็ดไปไว้ในโรงบ่มหรือโรงเปิดดอก โดยจัดวางก้อนเพาะเห็ดบนชั้น ในแนวตั้งหรือแนวนอนในโรงบ่มเส้นใย ในที่มืดจนเส้นใยเจริญเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ  30-45  วัน  เมื่อเชื้อเห็ดเดินจนเต็มถุงแล้วก็สามารถเปิดจุกเพื่อเปิดดอกได้ เส้นใยที่เจริญในถุงเพาะเห็ด  1  กิโลกรัม  จะใช้เวลา  30-35  วัน จึงจะเต็มถุงเพาะ เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุง  จำต้องพักบ่มเส้นใยต่อไปจนเส้นใยเริ่มสร้างสปอร์สีน้ำตาล โดยเฉลี่ยจะใช้ระยะเวลาในการบ่มเส้นใยเห็ดขอนขาวประมาณ 80-90 วัน  จึงจะนำไปเปิดดอก โรงพักบ่มเส้นใยควรเป็นโรงเรือนที่ร่ม  โปร่ง  อากาศถ่ายเทได้ดี  อุณหภูมิอยู่ระหว่าง  28-35  องศาเซลเซียส

ขั้นตอนที่  6   การเปิดดอก  และ การกระตุ้นให้เห็ดขอนขาวออกดอก : 
เห็ดขอนขาวชอบอุณหภูมิสูง  ที่ความชื้น  70-80 %  จะออกดอกได้ดี  และจะมีผลผลิตดีเมื่อมีอากาศแปรปรวนหรืออุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนแตกต่างกันมาก ดังนั้นจำต้องกระตุ้น  ให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอด้วยการปิดโรงเรือนให้ร้อนในช่วงเทียงถึงบ่าย  3  โมงเย็น  โดย อุณหภูมิในโรงเรือนอยู่ระหว่าง  35-37  องศาเซลเซียส  แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส  เพราะเส้นใยอาจฝ่อและหยุดการเจริญได้ หากอุณหภูมิสูงขึ้นมากเกิน ควรระบายความร้อนออกจากโรงเรือนด้วยการเปิดสปริงเกอร์รดน้ำ  ตกกลางคืนจะต้องเปิดโรงเรือน  ให้ได้รับความเย็นและอากาศถ่ายเทได้เต็มที่  จะช่วยให้ผลผลิตออกสม่ำเสมอได้ 


รดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่มแล้วนำผ้าพลาสติกมาคลุมกองชั้นวางก้อนเชื้อเห็ดที่พร้อมจะเปิดดอก ไว้  2-3  วัน  เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญต่อไป  การให้ผลผลิตของเห็ดบดแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน  15-20  วันในแต่ละรุ่น

เก็บในระยะที่ดอกเห็ดมีอายุ  2-3  วัน  หรือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดไม่เกิน 6 เซนติเมตร เป็นขนาดที่มีราคาดีที่สุด ทั้งการบริโภคสดหรือทำแห้งผลผลิตเฉลี่ยของเห็ดบดประมาณ  100-250  กรัมต่อถุง  เก็บได้ในระยะเวลา  100-120  วัน  การตลาด  ราคาของเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน  6  เซนติเมตร จำหน่ายเฉลี่ยกิโลกรัมละ  80-100  บาท  สามารถจำหน่ายในรูปของดอกเห็ดสดและเห็ดแห้ง  และควรเก็บดอกเห็ดในขณะที่ปลายขอบหมวกยังโค้งงอ  ลักษณะคล้ายการเก็บดอกเห็ดขอนขาว จะได้ดอกเห็ดที่มีคุณภาพ หวานนุ่ม เหมาะที่จะนำไปผัดหรือซุป  หากเก็บดอกแล้วระยะนี้ จะได้ดอกที่เหนียว  เคี้ยวยาก  เช่น  ดอกที่เก็บในธรรมชาติ  แต่คนท้องถิ่นพื้นเมือง ก็มีภูมิปัญ  ญาท้องถิ่น  โดยนำดอกไปฉีก  หรือสับ  ก่อนปรุงเป็นลาบหรือใส่แกงแค (แกงพื้นเมืองภาคเหนือ) นับเป็นเห็ดที่อร่อยชนิดหนึ่งเลยทีเดียว


คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจเพาะเห็ดขอนขาว 
ผู้สนใจเห็ดขอนขาวควรฝึกปฏิบัติและสังเกตเทคนิคให้ดี   จึงจะประสบผลสำเร็จในการเพาะ  หรืออาจใช้วิธีรดน้ำที่ก้อนเพาะให้ชุ่มแล้วนำผ้า พลาสติกมาคลุมกองไว้  2-3  วัน เมื่อเริ่มเห็นตุ่มดอกจึงลดอุณหภูมิในโรงเรือนและระบายอากาศให้ดอกเห็ดเจริญต่อไป การให้ผลผลิตของเห็ดบดแต่ละครั้งจะทิ้งช่วงห่างกัน  15-20  วันในแต่ละรุ่น

ข้อมูลอ้างอิง  :  https://www.rakbankerd.com


โพสต์โดย : POK@