Social :



ทำความรู้จักกับ องุ่นป่า

13 ก.พ. 62 11:02
ทำความรู้จักกับ องุ่นป่า

ทำความรู้จักกับ องุ่นป่า

ทำความรู้จักกับ  องุ่นป่า

องุ่นป่า     ไม้เลื้อยล้มลุก  หลายฤดู ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ใบ เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น 5 พู ผิว ใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม (glandularhair )ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ออกเป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน กลีบดอก  4  กลีบ  การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น เถาจะงอกในช่วงฤดูฝน ประโยชน์และความสำคัญ ทางอาหาร ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว ผลอ่อนต้มตำน้ำพริก หรือใส่ส้มตำ เพราะมีรสเปรี้ยว ถ้ารับประทานดอกมากจะทำให้ระคายคอ


ชื่อท้องถิ่น:  องุ่นป่า  เถาเปรี้ยว  เครืออีโกย (อีสาน)  กุ่ย (อุบล)  เถาวัลย์ขน (ราชบุรี)  ส้มกุ้ง (ประจวบฯ)  ตะเปียงจู  องุ่นป่า (สุรินทร์)
ชื่อสามัญ:  องุ่นป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์:  Sciencetific name : Ampelocissus martinii Planch
ชื่อวงศ์:  Family name:  VITACEAE (VITIDACEAE)
ลักษณะวิสัย/ประเภท:  ไม้ล้มลุก

ลักษณะพืช:  ไม้เลื้อยล้มลุก  หลายฤดู ลำต้น  ไม่มีเนื้อไม้  ใบ  เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น  5  พู  ผิว  ใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม  มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม  (glandularhair ) ขอบใบหยักฟันเลื่อย  ดอก ออกเป็นช่อแบบพานิเคิล  (panicle)  ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน  กลีบดอก 
MulticollaC
4  กลีบ  การขยายพันธุ์  ด้วยเมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน  นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย  พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น  เถาจะงอกในช่วงฤดูฝน ประโยชน์และความสำคัญ  ทางอาหาร  ยอดอ่อน  รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว  ผลอ่อนต้มตำน้ำพริก  หรือใส่ส้มตำ  เพราะมีรสเปรี้ยว ถ้ารับประทานดอกมากจะทำให้ระคายคอ  ชาวบ้านจะจิ้มเกลือก่อน  รับประทานจะลดอาการระคายคอ  หรือนำผลสุกมาตำใส่ส้มตำ

ปริมาณที่พบ:   ปานกลาง
การขยายพันธุ์:  ใช้เมล็ด
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์:   เมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายรากมันสำปะหลัง ออกเป็นกระจุกสีแดงเลือกหมู 


การใช้ประโยชน์องุ่นป่า /ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์:  ยาพื้นบ้านอีสานใช้ รากฝนดื่มแก้ไข้  ผสมลำต้นหรือรากรสสุคนธ์  เหง้าสัปปะรด ลำต้นไผ่ป่า  ลำต้นไผ่ตง  งวงตาล  เปลือกต้นสะแกแสง  ลำต้นหรือรากเถาคันขาว  ผลมะพร้าว  ลำต้นรักดำ  ลำต้นก้อม  ลำต้นโพ  หญ้างวงช้างทั้งต้น  รากกระตังบาย  เปลือกต้นมะม่วง ลำต้นหนามพรม รากลำเจียก ลำต้นอ้อยแดง ลำต้นเครือพลูช้าง เหง้าหัวยาข้าวเย็นโคก และเปลือกต้นกัดลิ้น ต้มน้ำดื่ม รักษาฝีแก้อาการบวม
แหล่งที่พบ:   พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น


ข้อมูลอ้างอิง  :  https://www.rakbankerd.com

โพสต์โดย : POK@