Social :



รวมเทคนิคการป้องกัน และกำจัด หอยเชอรี่

30 ก.ค. 62 10:07
รวมเทคนิคการป้องกัน และกำจัด หอยเชอรี่

รวมเทคนิคการป้องกัน และกำจัด หอยเชอรี่

รวมเทคนิคการป้องกัน  และกำจัด  หอยเชอรี่

หอยเชอรี่   หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือหอยเป๋าฮื้อน้ำจืด มีลักษณะคล้ายหอยโข่ง แต่เปลือกมีสีอ่อนกว่า ตัวโตกว่า จากการดูตัวด้วยตาเปล่าสามารถแบ่งหอยเชอรี่ออกได้เป็น 2 พวก คือพวกที่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาลเนื้อและหนวดสีเหลืองและพวกมีเปลือกสีเขียวเข้มปนดำ มีสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว เนื้อและหนวด สีน้ำตาลอ่อน

หอยเชอรี่เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว หอยตัวเต็มวัยอายุเพียง 3 เดือน จะจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากการผสมพันธุ์ได้ 1 - 2 วัน ตัวเมียจะวางไข่ โดยจะวางไข่ในเวลากลางคืน บริเวณที่แห้งเหนือน้ำ เช่น ตามกิ่งไม้ ต้นหญ้าริมน้ำ โคนต้นไม้ ริมน้ำข้าง ๆ คัน และตามต้นข้าวในนา ไข่หอยเชอรี่มีสีชมพู เกาะติดกันเป็นกลุ่มยาว 2 - 3 นิ้ว กลุ่มละประมาณ 288 - 3,000 ฟอง เป็นตัวหอยภายใน 7 - 12 วัน แม่หอยสามารถวางไข่ได้ตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูฝนจะวางไข่ได้ถึง 10 - 14 ครั้งต่อเดือน


หอยเชอรี่กินพืชทุกชนิดที่มีลักษณะอ่อนนิ่ม  เช่น  สาหร่าย  ผักบุ้ง  ผักกระเฉด  แหน  ต้นกล้าข้าว  ซากพืชน้ำ  และซากสัตว์เน่าเปื่อยในน้ำ  โดยเฉพาะต้นข้าวในระยะกล้าและที่ปักดำใหม่ ๆ  ไปจนถึงระยะแตกกอเต็มที่  โดยจะกัดกินลำต้นข้าวใต้น้ำ  ผิวน้ำ  เหนือพื้นดิน  0.5 - 1  นิ้ว  เมื่อต้นข้าวถูกกัดขาดก็จะกินส่วนใบที่ลอยน้ำต่อไปหมดต้น


หอยเชอรี่เป็นสัตว์ศัตรูข้าวที่สำคัญมาก  นอกจากจะขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังสามารถทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี  โดยจะหมกตัวมีชีวิตอยู่ในพื้นนาได้นานตลอดฤดูแล้ง และยังลอยตัวไปตามน้ำไหลได้อีกด้วย  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันกำจัดอย่างต่อเนื่องโดยใช้หลายๆ  วิธีผสมผสานกัน ดังนี้

1. วิธีกล
เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีที่สุด  ประหยัด ปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  มีหลายวิธีดังนี้
- การจับเก็บทำลาย

- การจับเก็บมาใช้ประโยชน์
หอยเชอรี่มีโปรตีนสูงถึง  34 - 35  เปอร์เซ็นต์  ใช้ประกอบเป็นอาหารได้หลายอย่าง  หรือทำน้ำปลาจากเนื้อหอยเชอรี่  ให้ทำเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ต่างๆ  เช่น  เป็ด  ปลา  กุ้ง  ปลาไหล  กบ  ตะพาบน้ำ  ไก่  และสุกร  เป็นต้น  เปลือกหอยสามารถนำมาใช้ปรับสภาพความเป็นกรดของดินได้  ตัวหอยทั้งเปลือกและไข่หอย  สามารถนำไปฝังบริเวณโคนต้นไม้เพื่อทำเป็นปุ๋ย  ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตดี  หรือทำเป็นปุ๋ยหมักชนิดน้ำได้
ข้อห้าม  ไม่ควรบริโภคเนื้อหอยเชอรี่ในบริเวณที่อยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม หรือบริเวณพื้นที่ที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาทำประโยชน์

- การดักและกั้น   ตามทางน้ำผ่านให้ใช้ตาข่าย เฝือก  หรือภาชนะดักปลา ดับจับหอยเชอรี่

- การใช้ไม้หลักปักในนาข้าว   การล่อให้หอยเชอรี่มาวางไข่ โดยใช้หลักปักในที่ลุ่มหรือทางที่หอยผ่าน เมื่อหอยวางไข่ตามหลักที่ปักไว้ ทำให้ง่ายต่อการเก็บไข่หอยไปทำลาย

-
Lif
การใช้เหยื่อล่อ 
พืชทุกชนิดใช้เป็นเหยื่อล่อหอยเชอรี่ได้ หอยจะเข้ามากินและหลบว่อนตัว  พืชที่หอยชอบกิน  เช่น  ใบผัก  ใบมันเทศ  ใบมันสำปะหลัง  ใบมะละกอ  หรือพืชอื่นที่มียางขาวคล้ายน้ำนม

2. โดยวิธีชีววิธี
- ใช้ศัตรูธรรมชาติช่วยกันกำจัด   เช่น  ใช้ฝูงเป็ดเก็บกินลูกหอย

- อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ  โดยปกติในธรรมชาติมีศัตรูหอยเชอรี่อยู่หลายชนิดที่ควรอนุรักษ์  เช่น  นกกระยาง  นกกระปูด  นกอีลุ้ม  นกปาห่าง  และสัตว์ป่าบางชนิด  ซึ่งสัตว์เหล่านี้นอกจากจะช่วยทำลายหอยเชอรี่แล้ว  ยังทำให้ธรรมชาติสวยงามอีกด้วย

3. การใช้สารเคมี
กองกีฏและสัตว์วิทยา กรมวิชาการเกษตรได้แนะนำให้ใช้สารดังนี้

- นิโคลซาไมค์ (niclosamide)  ชื่อการค้า ไบลุสไซด์ (Bayluscide)  70%  WP อัตรา  50  กรัมต่อไร่  โดยนำสารซึ่งเป็นผลสีเหลืองมาละลายน้ำและพ่นด้วยเครื่องฉีดพ่น  หรือใส่บัวรดน้ำ  หรือใช้ภาชนะตักราดลงนาข้าว

- เมทัลดีไฮด์ (metaldehyde)  ชื่อการค้า แอโกล-สลัก (Angle  slug)  5%   หรือเดทมีล  (Deadmeal)  4%  สารชนิดนี้เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปอัดเม็ด  ใช้หว่านในอัตรา   0.5 - 1  ก.ก.ต่อไร่

- โปรเทก (Protek)  เป็นสารที่ได้จากพืชหรือส่วนของพืชบดเป็นผง  ใช้หว่านในนาข้าว อัตรา  3  ก.ก.ต่อไร่

- คอปเปอร์   ซัลเฟต (copper  sulphate)  ใช้ในอัตรา  1  ก.ก.ต่อไร่  โดยนำมาละลายน้ำในบัวรดน้ำหรือใช้ภาชนะตักราดลงนาข้าว

ห้ามใช้เอ็นโดซัลแฟนในนาข้าว เพราะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในน้ำ


ข้อควรระวัง  การใช้สารเคมีกำจัดหอยเชอรี่  อาจทำให้เปลือกหอยที่ตากแล้วบาดเท้าเกษตรกรที่ปฏิบัติงานในนา  เกษตรกรจะบาดเจ็บหรือได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย  โดยเฉพาะโรคฉี่หนู  ผู้ป่วยอาจถึงกับเสียชีวิตได้











ข้อมูลอ้างอิง  :   https://www.baanjomyut.com/

โพสต์โดย : POK@