Social :



"ประเพณีไล่โรคห่า"ความเชื่อพื้นเมืองของชาวเมืองนครศรีฯ

17 ธ.ค. 62 19:12
"ประเพณีไล่โรคห่า"ความเชื่อพื้นเมืองของชาวเมืองนครศรีฯ

"ประเพณีไล่โรคห่า"ความเชื่อพื้นเมืองของชาวเมืองนครศรีฯ




"ประเพณีไล่โรคห่า"ความเชื่อพื้นเมืองของชาวเมืองนครศรีฯ

ประเพณีไล่โรคห่า ชาวพื้นเมืองมักเรียกว่า “พิธีไล่แม่มด” ตามความเชื่อคนโบราณว่า มียักษ์มีแม่มดพ่อมดตัวอุบาทว์หรือภูตผีปีศาจที่มีเวทมนตร์คาถาแก่กล้าสิง สู่อยู่ทั่วไป และคอยซ้ำเติมให้โทษแก่ผู้คนพลเมืองอยู่เสมอ ในพิธีกรรมยังจัดแต่งแม่มดสมมติขึ้นร่วมในกระบานพิธี และขับไล่ทุบตีให้แม่มดออกไปอาศัยอยู่นอกเมืองให้ดูสมจริงอีกด้วย ช่วยสร้างความสนุกสนานขบขันคนทั่วไปจึงเรียกกันเช่นนั้น

     ประเพณีไล่โรคห่า เป็นประเพณีประจำเดือนสี่ของชาวเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งจัดขึ้นในวันแรม 11-15 ค่ำเดือนสี่ ในบริเวณวัดมหาธาตุ ถือเป็นประเพณีสำคัญพิธีหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเลิกไปแล้ว(ตั้งแต่ พ.ศ.2474) แต่ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองนครศรีธรรมราช ก่อนที่จะแพร่หลายเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยา และเชื่อถือปฏิบัติสืบต่อมายังสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งถือเป็นประเพณีหลวงจึงเรียกพิธีนี้ว่า “พิธีพัจฉรฉินท์” หรือเรียกว่า พิธีทำบุญสิ้นปี เพื่อชำระบ้านเมืองให้สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีทุกข์ภัยไข้เจ็บ ขจัดสิ่งไม่เป็นมงคลตัวอัปรีย์จัญไรทั้งปวง ก่อนขึ้นปีใหม่ของคนไทยมัยก่อนนั้นเอง

     นอกจากนั้นแล้วการทำพิธีขับไล่ภูตผีปีศาจ และนานายักษ์ให้ออกพ้นไปจากตัวเมืองยังมีการยิงปืนไล่ยักษ์กันตลอดรุ่ง ดังนั้นพิธีนี้ลางทีจึงเรียกว่า “พิธีปราบยักษ์” หรือพิธีกำจัดตัวเสนียดอีกอย่างหนึ่ง ถือเป็นพิธีที่มีตะบะเดชะปลุกความเชื่อมั่นให้แก่พลเมืองด้วยเสียงปืนและ เสียงสวดอันกังวารไพเราะ ประกอบพิธีอันจริงจังเข้มแข็งของราชการบ้านเมือง

MulticollaC
     ประเพณีขับไล่โรคห่าหรือไล่แม่มดมีประวัติตามตำนานเมืองนครศรี ธรรมราชฉบับเมืองเวียงสระว่า เมื่อสมัยตามพรลิงค์ยุคปลาย มีชาวอินเดียอพยพเดินทางมาขึ้นฝั่งตะวันตกที่เมืองตะกั่วป่า และตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่นก่อน ต่อมาจึงได้เดินบกข้ามมาตั้งเมืองทางฝั่งตะวันออกหลายแห่ง เช่น ที่บ้านน้ำรอบ (เมืองธาราวดี จ.สุราษฎร์ธานี) ที่เชิงเขาชวาปราบ (ต้นน้ำคลองสินปุน จ.กระบี่) และที่บ้านเวียงสระ (เมืองเวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี)เหตุที่ชาวอินเดียต้องย้ายที่ตั้งเมืองบ่อย

     เนื่องมาจากเกิดไข้ห่า แม้กระทั่งสุดท้ายอพยพย้ายมาตั้งกรุงตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราชโบราณ) ชายฝั่งทะเลก็ยังเกิดไข้ห่าอยู่อีก เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชจึงปรึกษาผู้รู้ทั้งพระเถระฝ่ายพุทธและอธิบดีฝ่าย พราหมณ์ว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร จึงเป็นเหตุให้เกิดพิธีกรรมสวดอาฏานาฏิยสูตร (ภาณยักษ์) และอ่านพระเวท เต็มรูปแบบขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งการสวดมนต์การร่ายพระเวทเพื่อขับไล่โรคภัยไข้เจ็บสิ่งชั่วร้าย อัปมงคลทั้งหลายนี้ ทางลังกาและอินเดียก็คงมี

     แต่ไม่ได้ทำพิธีอย่างใหญ่โตเหมือนเมืองนครศรีธรรมราช เพราะคิดจัดทำตั้งโรงพิธีขึ้นเป็นพิเศษทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายพราหมณ์พร้อมกัน เลือกเฉพาะผู้ทรงคุณวิเศษผู้เรืองเวท อีกทั้งยังได้คิดทำ “เงินหัวนอโม”(หัวใจคาถาอาคม) ขึ้นประกอบพิธีสำหรับใช้หว่านโปรยไปทั่วเมือง(การซัดทรายซัดข้าวสารอาจได้ อย่างไปจากพิธีนี้) เพื่อขับไล่โรคห่าหรือผีแม่มดพ่อมดหรือยักษ์ภูตผีกลีบ้านกลีเมืองทั้งปวงให้ ปลาสนาการสิ้นไปอีกด้วย



ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:horoscope.thaiza.com

โพสต์โดย : monnyboy