Social :



เข้ามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา “วิโรจน์” ขยับจี้เรือดำน้ำ เร่ง “สุทิน” ตอบ8 คำถาม

29 ต.ค. 66 14:10
เข้ามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา “วิโรจน์” ขยับจี้เรือดำน้ำ เร่ง “สุทิน” ตอบ8 คำถาม

เข้ามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา “วิโรจน์” ขยับจี้เรือดำน้ำ เร่ง “สุทิน” ตอบ8 คำถาม

“วิโรจน์”ขยับจี้เรือดำน้ำ เร่ง”สุทิน”ตอบ8 คำถาม เตือนระวังซ้ำรอยจำนำข้าว อย่าคิดที่จะหลีกเลี่ยงไม่นำเอาเรื่องนี้ เข้ามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
 

 



 

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค “Wiroj Lakkhanaadisorn – วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ถึงประเด็นที่กองทัพเรือ ปฏิเสธเข้าชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องเรือดำน้ำ ต่อกมธ.ทหาร เมื่อวันที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมาว่า ตามที่ได้แจ้งให้ทุกท่านทราบ

 



 

ในวันพฤหัสบดี ที่ 26 ต.ค. ที่ผ่านมา ทาง กมธ.ทหาร ได้เชิญกองทัพเรือให้มาชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกรณี เรือดำน้ำ แต่ปรากฏว่าเมื่อเวลา 9.00 น. โดยประมาณ ของวันประชุม กมธ.ทหาร ได้รับหนังสือลงวันที่ 25 ต.ค. 66 จากกองทัพเรือว่า ยังไม่สามารถมาชี้แจงต่อ กมธ.ทหารได้ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลให้ชัดเจน ครบถ้วน เพียงพอ

 


 

เหตุผลดังกล่าวสร้างความสงสัย ต่อ คณะกรรมาธิการทุกท่านอย่างมาก เนื่องจากการจัดซื้อเรือดำน้ำนั้นได้อนุมัติหลักการไปตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2558 แล้วจะยังไม่มีความชัดเจน ได้อย่างไร หากผ่านมา 8 ปี แล้วยังไม่มีความชัดเจน และพอมีปัญหาในการจัดซื้อเกิดขึ้น ก็มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงการจัดซื้อไปซื้อเรือฟริเกตทันที มันก็พอจะเป็นคำตอบให้กับสังคมได้ว่า #เรือดำน้ำ ไม่น่าจะมีความจำเป็น อย่างที่เคยยืนยัน



 

อย่างไรก็ตาม ทาง กมธ.ทหาร ได้มีมติให้ทำหนังสือเชิญไปอีกครั้งหนึ่ง โดยในครั้งนี้ ให้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของ ผบ.ทร. ด้วย โดยได้ส่งประเด็นคำถามให้ทราบล่วงหน้า 8 ประเด็น คือ

 

 
 

 

1.ขอสัญญาแบบ G2G ของการจัดซื้อเรือดำน้ำแบบ Yuan Class S26T พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับค่าปรับ หรือการชดเชย ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถทำตามข้อตกลงได้

 

 

 
Lif

2.ขอหนังสือโต้ตอบระหว่างคู่สัญญา ที่ยืนยันว่าบริษัท China Shipbuilding & Offshore Interbational จะสามารถจัดหาเครื่องยนต์ MTU396 ของเยอรมนี มาติดตั้งในเรือดำน้ำให้ได้ หรือเงื่อนไขข้อยกเว้นที่แนบท้ายสัญญา หนังสือเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องยนต์ ที่ตอบกลับมาในภายหลัง ตลอดจนหนังสือเสนอเครื่องยนต์ CHD620 เป็นการทดแทน

 

 

 

3.ขอหนังสือแจ้งสงวนสิทธิ์การปรับตามสัญญา ที่ได้แจ้งให้คู่สัญญาทราบ

 

 

4.สรุปค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ได้ตั้งงบประมาณ และ/หรือ ก่อหนี้ผูกพัน และ/หรือ งบประมาณที่ได้เบิกจ่ายไปแล้ว เกี่ยวกับโครงการจัดหาเรือดำน้ำ
5.รายละเอียด Spec ของเรือฟริเกต ที่จะนำมาแลกเปลี่ยน เป็นอย่างไร มีการติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์อะไรในเรือบ้าง ราคาประเมินเท่าไหร่ จะต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกเท่าไหร่ จะมีปัญหาในการจัดหาเครื่องยนต์อีกหรือไม่ มีภาระเพิ่มเติมทางงบประมาณในการบำรุงรักษา การสำรองอะไหล่ การตระเตรียมระบบอำนวยการ และระบบการสื่อสารข้อมูล ฯลฯ มากน้อยเพียงไร และเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่ระบุไว้ในสมุดปกขาวของกองทัพเรือ หรือไม่ อย่างไร

 

 

6.การนำเอาเรือฟริเกต มาแลกเปลี่ยนในกรณีนี้ จะกระทบโครงการจัดหาเรืออานันทมหิดล และเรือภูมิพล หรือไม่ อย่างไร
7.กระทรวงกลาโหม จะนำเอาการเปลี่ยนแปลงสัญญา G2G ของเรือดำน้ำ เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2566 เมื่อใด
8.รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดซื้อเรือดำน้ำ ที่มีการใช้งบประมาณไปราว 200 ล้านบาท

 

 

โดย กมธ.ทหาร จะย้ำไปว่า ใน 8 ประเด็นดังกล่าวข้างต้น ขอให้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจัดส่งเอกสาร หรือตอบเป็นหนังสือกลับมาในเบื้องต้นได้ และหากยังไม่พร้อมมาชี้แจงกับ กมธ.ทหาร ก็ขอให้แจ้งกลับมาด้วยว่า จะพร้อมมาชี้แจงได้เมื่อใด

 

 

ผมอยากจะส่งข้อความด้วยความปรารถนาดี ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมว่า อย่างไรก็ตาม สัญญาการจัดซื้อเรือดำน้ำ เป็นสัญญาแบบ G2G ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ หากมีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญในสัญญา อย่างกรณีที่จะแลกเรือดำน้ำเป็นเรืออย่างอื่น อย่างไรก็ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา นั่นหมายความว่า ในท้ายที่สุดก็ต้องมีการเปิดเผยรายละเอียดเป็นการสาธารณะอยู่ดี เพราะถ้าไม่มีรายละเอียดข้อมูลใดๆ ก็คงไม่มีสมาชิกรัฐสภาคนไหนกล้าที่จะยกมือให้

 

 

และขอแนะนำเพิ่มเติมว่า อย่าคิดที่จะหลีกเลี่ยงไม่นำเอาเรื่องนี้ เข้ามาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งอาจเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญ และอาจจะซ้ำรอยกับกรณีโครงการจำนำข้าวได้




ขอบขอบคุณข้อมูลจาก:innnews

โพสต์โดย : monnyboy